วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บทที่ 3 คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

บทที่ 3 คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

3.1 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 5 หน่วย ได้แก่
1. หน่วยรับเข้า ทำหน้าที่รับข้อมูล หรือคำสั่งต่างๆจากผู้ใช้ผ่านอุปกรณ์รับข้อมูลซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งเข้าไปทำการประมวลผล
2. หน่วยประมวลผลกลาง ทำหน้าที่ประมวลผลคำสั่ง ซึ่งจะทำงานร่วมกับส่วนอื่นๆ
3. หน่วยความจำ ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมที่คอมพิวเตอร์กำลังประมวลผล และเป็นที่พักข้อมูลระหว่างที่ซีพียำกำลังประมวลผล
4. หน่วยส่งออก ทำหน้าที่แสดงหรือส่งข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลจากซีพียูให้ผู้ใช้รับทราบ
5. หน่วยเก็บข้อมูล ทำหน้าที่เก็บข้อมูลแบบถาวรบนคอมพิวเตอร์

3.2 หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
การทำงานของคอมพิวเตอร์จะเริ่มจากผู้ใช้ป้อนข้อมูลผ่านทางอุปกรณ์ของหน่วยรับเข้า เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ ข้อมูลจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณดิจิทัล ซึ่งประกอบด้วยเลข 0 และ 1 แล้วส่งต่อไปยังหน่วยประมวลผลกลาง ในระหว่างการประมวลผลหากมีคำสั่งให้นำผลลัพธ์จากการประมวลผลไปจัดเก็บในหน่วยความจำ ข้อมูลจะถูกส่งไปยังแรม ขณะเดียวกัน อาจมีคำสั่งให้นำผลลัพธ์จากการประมวลผลดังกล่าวไปแสดงผลผ่านทางอุปกรณ์หน่วยส่งออก เช่น จอภาพ

3.2.1 ซีพียู และการประมวลผล
ซีพียู มีลักษณะเป็นชิป ที่ติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ดภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในบรรจุวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆไว้มากมาย โดยวงจรประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กจำนวนมาก ปัจจุบันซีพียูถูกพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง โดยรวมวงจรต่างไว้ในชิปเพียงตัวเดียวเรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ ภายในไมโครโพรเซสเซอร์ประกอบด้วย หน่วยควบคุม และหน่วยคำนวณและตรรกะ เรียกสั้นๆ ว่า เอแอลยู

หน่วยควบคุม เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ประสานงาน และควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยหน่วยควบคุมจะแปลความหมายคำสั่งในโปรแกรมของผู้ใช้ และควบคุมให้อุปกรณ์ต่างๆทำงานตามคำสั่งนั้นๆ

หน่วยคำนวณและตรรกะ หรือเอแอลยู เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ในการคำนวณต่างๆทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเอแอลยู จะรับข้อมูลจากหน่วยความจำมาเก็บไว้ในที่เก็บชั่วคราวของเอแอลยู เรียกว่า เรจิสเตอร์ เพื่อทำการคำนวณกลับไปยังหน่วยความจำ

3.2.2 หน่วยความจำ และการจัดเก็บข้อมูล
          หน่วยความจำ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญบนเมนบอร์ดที่ทำงานร่วมกับซีพียูโดยตรง หน่วยความจำแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1. หน่วยความจำแบบไม่สามารถลบเลือนได้ เป็นหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลได้ แม้ว่าไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง ตัวอย่างของหน่วยความจำชนิดนี้เช่น รอม และหน่วยความจำแบบแฟลช
- รอม เป็นหน่วนความจำแบบอ่านได้อย่างเดียวไม่สามารถลบและเขียนข้อมูลใหม่ได้
- หน่วยความจำแบบแฟลช เป็นหน่วยความจำที่สามารถลบและเขียนข้อมูลใหม่ได้ ในเครื่องคอมพิวเตอร์มีการใช้รอมในการเก็บไบออส ไบออสทำหน้าที่เก็บข้อมูล โปรแกรมพื้นฐานที่สำคัญในการเริ่มต้นกระบวนการบูตของเครื่องคอมพิวเตอร์
2. หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ เป็นหน่วยความจำที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเพื่อเก็บข้อมูล หากเกิดไฟดับ ข้อมูลและโปรแกรมคำสั่งจะสูญหายไป หน่วยความจำชนิดนี้ เช่น แรม

แรม สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. สแตติกแรม หรือแรมเอส มักพบในตัวซีพียูทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำภายในซีพียูที่เรียกว่าหน่วยความจำแคช ซึ่งจะมีความเร็วสูงกว่าไดนามิกแรม ตัวอย่าง เอสแรม
2. ไดนามิกแรม หรือดีแรม เป็นหน่วยความจำที่ใช้ในการจดจำข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ราคาไม่แพง  ความจุสูง
น็น็็
3.2.3 ระบบบัสกับการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ
ในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น มีเมนบอร์ดที่สามารถติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ซีพียู หน่วยความจำ และฮาร์ดดิสก์ โดยการส่งข้อมูลและคำสั่งระหว่างอุปกรณ์ จะอยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าที่ถูกส่งผ่านระบบส่งถ่ายข้อมูลที่เรียกว่า บัส

3.3 การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน
- งานเอกสาร หรืองานในสำนักงาน เป็นการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการจัดการด้านเอกสาร รายงาน ตกแต่งภาพ ทำการ์ดอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ซีพียูที่มีความเร็วสูง คือประมาณ 1 GHz ขึ้นไปแต่ควรมีแรมอย่างน้อย 1 GB และอาจเลือกจอภาพแบบแอลซีดีขนาด 17-19 นิ้ว
- งานกราฟฟิก เป็นการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการตกแต่งและออกแบบภาพ เช่น งานสิ่งพิมพ์ สร้างเว็บไซต์ ฯลฯ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานประเภทนี้จำเป็นต้องมีซีพียูที่มีความเร็วอยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างสูง ประมาณ 2 GHz ขึ้นไป ใช้แรมอย่างน้อย 2 GB ขึ้นไป และมีฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุสูงเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก
- งานออกแบบที่ต้องแสดงผลเป็น 3 มิติ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบภาพ 3 มิติ สร้างภาพยนตร์ แอนิเมชั่น ฯลฯ งานประเภทนี้ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการคำนวณ และแสดงภาพความละเอียดสูงสุดได้ ควรเลือกซีพียูที่มีความเร็วไม่น้อยกว่า 2 GHz มีแรมอย่างน้อย 4 GB การ์ดแสดงผลที่สามารถแสดงภาพความละเอียดสูงสุดได้ดี ควรใช้จอภาพขนาดไม่ต่ำกว่า 24 นิ้ว และควรมีเครื่องสำรองไฟฟ้า

3.4 การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์
สำหรับผู้เริ่มใช้คอมพิวเตอร์ ไม่ควรซื้ออุปกรณ์มาประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์เอง ควรเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จัดขายเป็นชุดให้แล้ว และเลือกซื้อจากบริษทที่เชื่อถือได้
สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการเลือกซื้อชิ้นส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่ต้องการหรือเพื่อปรับปรุงอุปกรณ์บางอย่าง เช่น ซีพียู เมนบอร์ด หลักในการพิจารณาเลือกซื้ออุปกรณ์มีดังนี้

3.4.1 ปัจจัยในการเลือกซื้อซีพียู
1.     บริษัทผู้ผลิต มี 2 บริษัทชั้นนำ คือ บริษัทอินเทล และ บริษัทเอเอ็มดี
2.     ความเร็วของซีพียู ความเร็วของซีพียูขึ้นอยู่กับความถี่สัญญาณนาฬิกา
3.     หน่วยความจำแคช เป็นหน่วยความจำความเร็วสูงเพื่อให้การทำงานเร็วขึ้น ควรพิจารณาเลือกซื้อซีพียูที่ความจุของหน่วยความจำแคชมาก
4.     ความเร็วบัส คือ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลระหว่างซีพียูและอุปกรณ์อื่นๆ ควรเลือกซีพียูที่มีความเร็วบัสสูง และสอดคล้องกับความเร็วของอุปกรณ์อื่น

3.4.2 เมนบอร์ด ต้องคำนึงถึงในการซื้อเมนบอร์ด เช่น ซ็อกเก็ตซีพียู ฟรอนต์ไซด์บัส สล็อตหน่วยความจำ ช่องสำหรับติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ หรือ สล็อต พอร์ต ขั้วต่อและรูปแบบหรือฟอร์มแฟกเตอร์

3.4.3 ปัจจัยในการพิจารณาเลือกซื้อแรม
1. ประเภทของแรม ต้องพิจารณาเลือกซื้อให้ตรงกับสล็อตหน่วยความจำบนเมนบอร์ด
2. ความจุ มีตั้งแต่ 256 MB ขึ้นไป เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานด้านกราฟฟิกจะใช้แรมที่มีความจุสูง สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมักจะติดตั้งแรม 1 GB ขึ้นไป
3. ความเร็วของแรม เลือกใช้ความเร็วให้สอดคล้องกับความเร็วบัสและเมนบอร์ด

3.4.4 ปัจจัยในการเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์
1. การเชื่อมต่อ ใช้มาตรฐาน EIDE และ SATA
2. ความจุข้อมูล ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้
3. ความเร็วรอบ โดยทั่วไปฮาร์ดดิสก์ของซีพีจะมีความเร็วรอบอยู่ที่ 7,200 รอบต่อนาที

3.4.5 ปัจจัยในการเลือกซื้อการ์ดแสดงผล
1. ชิปประมวลผลกราฟิก หรือจีพียู เป็นอุปกรณ์ที่เพิ่มความเร็วในการแสดงผล
ถ้าประมวลผลสามมิติ อาจใช้ชิปของบริษัท nVIDIA รุ่น GeForce 9 และ  GTX2xx
2. การเชื่อมต่อ มี 2 แบบ คือ แบบใช้กับบัส PCI Express และ บัส AGP
3. ความจุของหน่วยความจำบนการ์ด ถ้ามีความจำมากของหน่วยความจำมาก
จะแสดงภาพมัลติมีเดียความละเอียดสูงได้ดี

การพิจารณาเลือกซื้อออปติคัลดิสก์ไดรฟ์
1.     ซีดีไดร์ฟ ใช้อ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีได้อย่างเดียว
2.     ดีวีดีไดร์ฟ ใช้อ่านทั้งแผ่นซีดี และดีวีดี แต่ไม่สามารถเขียนหรือบันทึกข้อมูลลงได้
3.     ซีดีอาร์ดับบลิวไดร์ฟ สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงแผ่นซีดีได้
4.     คอมโบไดร์ฟ สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงแผ่นซีดีและอ่านข้อมูลจากแผ่นดีวีดีได้
5.     ดีวีดีอาร์ดับบลิวไดร์ฟ สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้ทั้งแผ่นซีดี และดีวีดี มีการระบุค่าความเร็ว

3.4.7 เคส โดยทั่วไปเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ทำหน้าที่เป็นโครงยึดให้กับอุปกรณ์ภายในต่างๆ ที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งเมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ แหล่งจ่ายไฟ เป็นต้น
หลักในการพิจารณาเลือกซื้อเคส
-         มีช่องระบายความร้อน
-         มีพื้นที่ที่จะเพิ่มอุปกรณ์ได้
-         ลักษณะของเคส เช่น เคสในแนวนอน
-         ในกรณีที่เป็นการใช้งานทั่วไป อาจเลือกใช้เคสที่มีแหล่งจ่ายไฟ ติดตั้งมาให้สำเร็จแล้ว

3.4.8 จอภาพ ที่พบอยู่มี 2 ประเภท คือ จอซีอาร์ที และ แอลซีดี
ปัจจัยในการเลือกซื้อจอภาพ เช่น
-         ความละเอียดของภาพ ถ้ามีความละเอียดสูงจะทำให้ภาพคมชัดมากขึ้น
-         ขนาด ขนาดของจอภาพจะวัดเป็นแนวทแยงมุม

3.5            การรับประกันอุปกรณ์คอมพิวเตอร์  อุปกรณ์แต่ละชนิดจะมีระยะเวลารับประกันต่างกัน เช่น แรม รับประกันตลอดอายุการใช้งาน และ ฮาร์ดิสก์อาจรับประกัน
1-5 ปี

3.6 ข้อแนะนำการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
          1. ไม่ควรเปิดฝาเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่จำเป็น
2. ไม่ตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูง
3. ไม่ตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ใกล้กับประตูหรือหน้าต่างเนื่องจากอาจโดนแสงแดดหรือฝนสาด
4. ไม่ควรวางคอมพิวเตอร์ใกล้สนามแม่เหล็ก เนื่องจากสนามแม่เหล็กจะทำให้การแสดงภาพผิดเพี้ยนไปจากความจริง
5. ถ้าหากที่บ้านไฟตกหรือมีไฟกระชาก ควรมีเครื่องสำรองไฟยูพีเอส
6. ควรตั้งโหมดประหยัดพลังงานให้กับเครื่อง เพื่อถนอมอายุการใช้งานของเครื่อง
7. ไม่ควรวางของเหลวใกล้เครื่องคอมพิวเตอร์
8. ไม่ควรปิดเครื่องโดยการกดปิดสวิตช์ปิด ควรใช้คำสั่งปิดระบบปฏิบัติการ เนื่องจากระบบปฏิบัติการต้องดำเนินการตรวจสอบสถานการณ์ทำงานต่างๆของฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ก่อนจะหยุดการทำงาน


3.7 การแก้ไขปัญหาเบื้องต้นของซีพี
          1. เครื่องหยุดการทำงานขณะใช้งานอยู่
สาเหตุ แหล่งจ่ายไฟจ่ายกำลังไฟฟ้าไม่พอ
การแก้ไข นำอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นที่ต่อพ่วงอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ออกไป

2. เปิดเครื่องแล้วปรากฏข้อความว่า “DISK BOOT FAILURE, INSERT DISK SYSTEM PRESS ENTER”
สาเหตุ เครื่องบูตไม่พบฮาร์ดดิสก์
การแก้ไข ตรวจสอบโปรแกรมไบออสว่า บูตฮาร์ดดิสก์ในตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่

3. อ่านหรือเขียนแผ่นซีดี/ดีวีดีไม่ได้
สาเหตุ หัวอ่านเลเซอร์ของไดร์ฟสกปรก
การแก้ไข ให้ใช้แผ่นซีดีทำความสะอาดหัวอ่าน

4. เครื่องรีสตาร์ตเองขณะใช้งาน
สาเหตุ ซีพียูมีความร้อนสูง
การแก้ไข ตรวจสอบพัดลมของซีพียูว่าทำงานหรือไม่ สายที่ต่ออยู่แน่นหรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น